สถานที่ท่องเที่ยวยอดฮิตปี 2015 เที่ยวเชียงใหม่ สัมผัสบรรยากาศกลิ่นอายเอกลักษณ์ประเพณีวัฒนธรรมของ อาณาจักรล้านนา
ถ้ากล่าวถึงเชียงใหม่ใครต่อใครก็คงนึกถึงเมืองเหนือที่ประกอบไปด้วยวัฒนธรรมประเพณีอันเป็เอกลักษณ์ของชาวล้านนา สถานที่ท่องเที่ยวเชียงใหม่ ที่มีอยู่อย่างมากมาย เที่ยวเชียงใหม่
ครั้งเดียวไม่สามารถเที่ยวได้ทั่วถึง ต้องมากันหลาย ๆ รอบ
หรือพักกันอยู่แบบยาว ๆ กันเลย ขนบธรรมเนียมประเพณีที่แตกต่าง
ภาษาพูดที่ถือว่าเป็นเอกลักษณ์อย่างมาก
ที่คนพื้นบ้านสื่อสารออกกับผู้มาเยือนได้อย่างไพเราะเสนาะหู
หรืออาหารการกินที่มีความอร่อย ของกินเชียงใหม่ งานหัตถกรรม งานฝีมือต่าง ๆ
สภาพ
ภูมิประเทศทั่วไปประกอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อน
มีดอยอินทนนท์เป็นยอดเขาที่สูงที่สุด สูงจาก ระดับน้ำทะเล 2,565 เมตร
ยอดเขาที่มีระดับสูงรองลงมาคือ ดอยหัวมดหลวง
สูงจากระดับน้ำทะเล 2,330 เมตร
ป่าอินทนนท์นี้เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำแม่กลาง แม่ป่าก่อ แม่ปอน แม่หอย
แม่ยะ แม่แจ่ม แม่ขาน และเป็นส่วนหนึ่งของต้นน้ำแม่ปิงที่
ให้พลังงานไฟฟ้าที่เขื่อนภูมิพล มีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตกต่างๆ โดยเฉพาะน้ำตกแม่ยะ ที่ได้ชื่อว่าสวยที่สุดของประเทศ
ดอยอินทนนท์ เดิมมีชื่อว่า “ดอยหลวงอ่างกา” ต่อมาได้ตั้งชื่อตามพระนามของพระเจ้าอินทวิชยนนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7
จากความสำเร็จของการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ที่ได้รับการตอบรับทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเป็นอย่างดี คณะรัฐมนตรีจึงมีมติ เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ให้สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) เข้ามาบริหารจัดการและใช้ประโยชน์พื้นที่สวนเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการและปฏิบัติงานด้านต่างๆ มีภารกิจหลักในการพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้พืชสวนและเป็นแหล่งท่องเที่ยว ทางการเกษตรและวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงใหม่และประเทศไทย โดยได้รับการถ่ายโอนกิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ และงบประมาณของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาเป็นของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่ สูง (องค์การมหาชน) เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2552 และมีการส่งมอบสวนเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2552 การตั้งชื่ออุทยานหลวงราชพฤกษ์นั้น หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี องค์ประธานมูลนิธิโครงการหลวง ได้มีลายพระหัตถ์ถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2552 [1]ขอ พระราชทานชื่อสวนซึ่งเป็นสถานที่จัดงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ณ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ว่า “สวนหลวงราชพฤกษ์” ต่อมาท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ รองราชเลขาธิการ ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อสวนดังกล่าวว่า “อุทยานหลวงราชพฤกษ์” ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2553 และได้รับพระราชทานชื่อภาษาอังกฤษว่า “Royal Park Rajapruek”
ตามมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการข้าราชการ พลเรือน (อ.ก.พ.) ประจำกรมป่าไม้ ครั้งที่ 9/2530 เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2530 ให้กองอนุรักษ์ต้นน้ำ และกองอุทยานแห่งชาติประสานงานกัน จัดส่งเจ้าหน้าที่ไปสำรวจพื้นที่บริเวณหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 2 (ห้วยน้ำดัง) จังหวัดเชียงใหม่บางส่วน เพื่อพิจารณาจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติตามข้อเสนอแนะของกองอนุรักษ์ต้นน้ำ กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713/ ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2530 กรมป่าไม้ให้ นายณรงค์ เจริญไชย เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 ไปทำการสำรวจพื้นที่ร่วมกับหัวหน้าหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 2 (ห้วยน้ำดัง) หัวหน้าหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 4 (แม่แจ่มหลวง) และหัวหน้าหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 9 (ห้วยน้ำรู) ซึ่งได้รายงานผลการสำรวจตามหนังสือ ที่ กษ 0713(ทป)/86 ลงวันที่ 3 เมษายน 2531 แต่เนื่องจากยังขาดรายละเอียดต่างๆ และขอบเขตพื้นที่ที่เหมาะสมในการกำหนดเขตอุทยานแห่งชาติ ประกอบกับวนอุทยานโป่งเดือด จังหวัดเชียงใหม่ มีหนังสือ ที่ กษ 0713(ปด)/10 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2531 แจ้งว่า เนื้อที่ใกล้เคียงวนอุทยานมีความเหมาะสมที่จะรวมกับพื้นที่หน่วยพัฒนาต้นน้ำ ที่ 2 (ห้วยน้ำดัง) จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ
กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713/950 ลงวันที่ 16 สิงหาคม 2531 เสนอกรมป่าไม้ให้ นายสวัสดิ์ ทวีรัตน์ เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 หัวหน้าวนอุทยานโป่งเดือดไปสำรวจเบื้องต้นบริเวณดังกล่าว ได้รับรายงานผลการสำรวจตามหนังสือ ที่ กษ 0713(ปด)/74 ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2531 ว่า ได้ทำการสำรวจร่วมกับ นายณรงค์ เจริญไชย เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 พื้นที่บริเวณดังกล่าวมีสภาพป่าธรรมชาติที่สมบูรณ์ ภูเขาสูงชันสลับซับซ้อน เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามเหมาะสมจะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ
อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังได้ประกาศให้เป็นอุทยานแห่ง ชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเชียงดาว และป่าแม่แตงในท้องที่ตำบลเปียงหลวง ตำบลเมืองแหง อำเภอเวียงแหง ตำบลกื้ดช้าง ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และป่าแม่ปายฝั่งซ้ายตอนบนในท้องที่ตำบลเวียงเหนือ ตำบลแม่ฮี้ ตำบลแม่นาเติง อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 112 ตอนที่ 33ก ลงวันที่ 14 สิงหาคม 2538 มีเนื้อที่ประมาณ 782,575 ไร่ หรือ 1,252.12 ตารางกิโลเมตร นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 81 ของประเทศไทย
- อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
ดอยอินทนนท์ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่ อำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่วาง และ
อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ประมาณ 482.4 ตารางกิโลเมตร หรือ
301,500 ไร่ ประกอบไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน
มีดอยอินทนนท์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัย พาดผ่านจากประเทศเนปาล
ภูฐาน พม่า เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย
ดอยอินทนนท์ เดิมมีชื่อว่า “ดอยหลวงอ่างกา” ต่อมาได้ตั้งชื่อตามพระนามของพระเจ้าอินทวิชยนนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7
- อุทยานหลวงราชพฤกษ์
อุทยานหลวงราชพฤกษ์ เป็นสวนพฤกษศาสตร์ขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ ณ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นสถานที่ที่ใช้จัดงาน มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 และ มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2554 เนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ใน พ.ศ. 2549 และทรงเจริญพระชนพรรษา 80 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และคณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2546 เห็นชอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549 ณ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ตำบลแม่เหียะ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ (พื้นที่ 468 ไร่ 3 งาน 10 ตารางวา) โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2550 รวม 92 วันภายใต้ชื่อ “มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549” ซึ่งเป็นงานที่ประเทศไทยประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก
จากความสำเร็จของการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ที่ได้รับการตอบรับทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเป็นอย่างดี คณะรัฐมนตรีจึงมีมติ เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ให้สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) เข้ามาบริหารจัดการและใช้ประโยชน์พื้นที่สวนเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการและปฏิบัติงานด้านต่างๆ มีภารกิจหลักในการพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้พืชสวนและเป็นแหล่งท่องเที่ยว ทางการเกษตรและวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงใหม่และประเทศไทย โดยได้รับการถ่ายโอนกิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ และงบประมาณของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาเป็นของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่ สูง (องค์การมหาชน) เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2552 และมีการส่งมอบสวนเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2552 การตั้งชื่ออุทยานหลวงราชพฤกษ์นั้น หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี องค์ประธานมูลนิธิโครงการหลวง ได้มีลายพระหัตถ์ถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2552 [1]ขอ พระราชทานชื่อสวนซึ่งเป็นสถานที่จัดงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ณ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ว่า “สวนหลวงราชพฤกษ์” ต่อมาท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ รองราชเลขาธิการ ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อสวนดังกล่าวว่า “อุทยานหลวงราชพฤกษ์” ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2553 และได้รับพระราชทานชื่อภาษาอังกฤษว่า “Royal Park Rajapruek”
- อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง
อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอแม่แตง อำเภอเชียงดาว อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีสภาพป่าและธรรมชาติที่สมบูรณ์ ภูเขาสูงชันสลับซับซ้อน เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามและจุดชมวิวที่สามารถชมบรรยากาศอันร่มรื่น โดยเฉพาะบริเวณห้วยน้ำดัง ที่มีชื่อว่าทะเลหมอกที่งดงามยิ่ง มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศไทย อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังมียอดดอยที่มีธรรมชาติงดงามอีกหลายแห่ง เช่น ดอยช้าง ดอยสามหมื่น รวมทั้งมีโป่งเดือดซึ่งเป็นน้ำพุร้อนธรรมชาติ ส่วนการล่องแพในลำน้ำแม่แต่งก็เป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 782,575 ไร่ หรือ 1,252.12 ตารางกิโลเมตร
ตามมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการข้าราชการ พลเรือน (อ.ก.พ.) ประจำกรมป่าไม้ ครั้งที่ 9/2530 เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2530 ให้กองอนุรักษ์ต้นน้ำ และกองอุทยานแห่งชาติประสานงานกัน จัดส่งเจ้าหน้าที่ไปสำรวจพื้นที่บริเวณหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 2 (ห้วยน้ำดัง) จังหวัดเชียงใหม่บางส่วน เพื่อพิจารณาจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติตามข้อเสนอแนะของกองอนุรักษ์ต้นน้ำ กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713/ ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2530 กรมป่าไม้ให้ นายณรงค์ เจริญไชย เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 ไปทำการสำรวจพื้นที่ร่วมกับหัวหน้าหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 2 (ห้วยน้ำดัง) หัวหน้าหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 4 (แม่แจ่มหลวง) และหัวหน้าหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 9 (ห้วยน้ำรู) ซึ่งได้รายงานผลการสำรวจตามหนังสือ ที่ กษ 0713(ทป)/86 ลงวันที่ 3 เมษายน 2531 แต่เนื่องจากยังขาดรายละเอียดต่างๆ และขอบเขตพื้นที่ที่เหมาะสมในการกำหนดเขตอุทยานแห่งชาติ ประกอบกับวนอุทยานโป่งเดือด จังหวัดเชียงใหม่ มีหนังสือ ที่ กษ 0713(ปด)/10 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2531 แจ้งว่า เนื้อที่ใกล้เคียงวนอุทยานมีความเหมาะสมที่จะรวมกับพื้นที่หน่วยพัฒนาต้นน้ำ ที่ 2 (ห้วยน้ำดัง) จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ
กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713/950 ลงวันที่ 16 สิงหาคม 2531 เสนอกรมป่าไม้ให้ นายสวัสดิ์ ทวีรัตน์ เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 หัวหน้าวนอุทยานโป่งเดือดไปสำรวจเบื้องต้นบริเวณดังกล่าว ได้รับรายงานผลการสำรวจตามหนังสือ ที่ กษ 0713(ปด)/74 ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2531 ว่า ได้ทำการสำรวจร่วมกับ นายณรงค์ เจริญไชย เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 พื้นที่บริเวณดังกล่าวมีสภาพป่าธรรมชาติที่สมบูรณ์ ภูเขาสูงชันสลับซับซ้อน เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามเหมาะสมจะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ
กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713/206 ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์
2532 เสนอกรมป่าไม้ขอความเห็นชอบ
เพื่อนำเรื่องการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะ
กรรมการอุทยานแห่งชาติ
เพื่อให้ความเห็นชอบกำหนดบริเวณพื้นที่หน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 2 (ห้วยน้ำดัง)
หน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 4 (แม่จอกหลวง) หน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 9 (ห้วยน้ำรู)
บางส่วน และพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ปายฝั่งซ้ายตอนบน
ในป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่แตงในท้องที่ตำบลกี๊ดช้าง อำเภอแม่แตง
จังหวัดเชียงใหม่ และ ตำบลแม่อี้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
มีเนื้อที่ประมาณ 1,252.12 ตารางกิโลเมตร หรือ 782,575 ไร่
เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ต่อไป
ต่อมาได้มีวิทยุกองอุทยานแห่งชาติที่ กษ 0712 ทับ 97 ลงวันที่ 27
พฤศจิกายน 2534 ให้อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง
ประสานงานกับหัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแม่เลา-แม่แสะ
และให้สำรวจพื้นที่บางส่วนของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแม่เลา-แม่แสะ
และพื้นที่วนอุทยานโป่งเดือด ในท้องที่ตำบลเมืองคอง อำเภอเชียงดาว
และตำบลป่าแป๋ ตำบลเมืองกาย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
เพื่อกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติเพิ่มเติมประมาณ 118,906.25 ไร่ หรือ
190.25 ตารางกิโลเมตร เนื่องจากพบว่า
พื้นที่ส่วนใหญ่มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีศักยภาพสูงมาก
มีจุดเด่นที่สวยงาม เช่น โป่งเดือด น้ำตก ลุ่มน้ำแม่แตง
รวมทั้งความหลากหลายของพืชพรรณ และสัตว์ป่าที่ชุกชม
มีความเหมาะสมอย่างยิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติโดย
ด่วนอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังได้ประกาศให้เป็นอุทยานแห่ง ชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเชียงดาว และป่าแม่แตงในท้องที่ตำบลเปียงหลวง ตำบลเมืองแหง อำเภอเวียงแหง ตำบลกื้ดช้าง ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และป่าแม่ปายฝั่งซ้ายตอนบนในท้องที่ตำบลเวียงเหนือ ตำบลแม่ฮี้ ตำบลแม่นาเติง อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 112 ตอนที่ 33ก ลงวันที่ 14 สิงหาคม 2538 มีเนื้อที่ประมาณ 782,575 ไร่ หรือ 1,252.12 ตารางกิโลเมตร นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 81 ของประเทศไทย
- ถนนคนเดินท่าแพ
ถนนคนเดินท่าแพ
ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง อาทิตย์ เทศบาลเชียงใหม่
จะปิดถนนส่วนหนึ่งในเชียงใหม่ เพื่อให้ชาวบ้านนำสินค้าหัตถกรรมมาวางขาย
ถนนคนเดินที่นี่ได้รับความสนใจอย่างมากจากนักท่องเที่ยวชาวไทยจากทุกภาคและ
ชาวต่างประเทศหลากหลายภาษาทั้งยุโรป เอเชีย ถนนคนเดินท่าแพ
อยู่บริเวณประตูเมืองท่าแพต่อไปยังถนนราชดำเนิน เปิดเฉพาะวันอาทิตย์
เวลาประมาณ 17.00 – 22.00 น. เป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าขนาดใหญ่
มีสินค้าให้เลือกสรรมากมายหลากหลายประเภท ทั้งสินค้าทางวัฒนธรรม เช่น
สินค้าพื้นเมือง จำพวกเครื่องประดับตกแต่ง เสื้อผ้า ของที่ระลึก กระเป๋า
ผ้าพันคอ โคมไฟ ฯลฯ หรือจะเป็นสินค้าแฟชั่นก็มีให้เห็นอยู่โดยทั่วไป
รวมทั้งของกิน เช่น ขนมจีนน้ำเงี้ยว/น้ำยา ของทานเล่น โรตี ฯลฯ
หากมาเยือนในช่วงอากาศหนาว ๆ เดินเที่ยวกาดกลางคืน
ถนนคนเดินเชียงใหม่ก็เพลิดเพลินไปอีกแบบหนึ่ง
ซึ่งที่นี่เป็นถนนคนเดินที่ใหญ่ที่สุดในเชียงใหม่และได้รับความสนใจอย่างมาก
จากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ